Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน

by Little Bear @18 พ.ค. 55 21:12 ( IP : 122...55 ) | Tags : Crowdsourcing
photo  , 168x218 pixel , 19,084 bytes.

Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน

เอฟ.เอ. ฮาเยค - Friedrich August Hayek นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1974 แห่งมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (London School of Economics and Political Science) เขียนว่า

“สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีความรู้เพียงส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับทั้งหมด และแต่ละคนก็มักละเลยข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในสังคม...ความเจริญตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนได้ประโยชน์จากความรู้ที่เราไม่มีอยู่ และหนึ่งในวิธีที่ความเจริญช่วยให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตความรู้ของแต่ละคนได้ก็คือการพิชิตความละเลย ซึ่งไม่ใช่การหาความรู้เพิ่มเติม แต่เป็นการนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่กับแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์” (ฮาวี 2554,170) ซึ่งอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถรวบรวมและนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก

เงื่อนไขของความหลากหลายที่จะช่วยให้มวลชนสามารถแก้ไขปัญหาได้คือ 1. ปัญหานั้นต้องเป็นปัญหาที่ยุ่งยากจริง ๆ 2. มวลชนต้องมีคุณสมบัติบางประการที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ทันที นั่นคือมีความสามารถ มีความพร้อม มีความรู้ มีระบบในการรวบรวมและจัดการ 3. ผู้เข้าร่วมกลุ่มต้องถูกคัดเลือกมาจากเครือข่ายที่ใหญ่เพียงพอและต้องรับประกันได้ว่ามีความหลากหลายในแง่ของวิธีการแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการแสดงมุมมองที่เป็นของตนเอง สามารถดึงความรู้เฉพาะตัวมาใช้ได้อย่างเต็มที่ (ฮาวี 2554,74)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่การสุ่มคนจากจำนวนมากมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงได้ ในขณะที่ทีมแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

ปัญญารวมหมู่จึงเป็นการใช้ความรู้ความสามารถ พลังความคิดสร้างสรรค์ หรือการตัดสินใจของมวลชน มาใช้ในการตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาบางอย่างที่มีความซับซ้อน โดยใช้มวลชนจำนวนมากมาร่วมมือกันในการทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพท์ที่เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและใช้เวลาที่น้อยกว่าในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

Relate topics